ประวัติความเป็นมา
*รออัพเดท*
21 กุมภาพันธ์ 2565

4


เริ่มต้นประวัติศาสตร์พื้นที่เกาะพระทอง

          ในส่วนของพื้นที่เกาะระ-เกาะพระทองไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าชุมชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่เมื่อใด แต่ดังที่กล่าวไปแล้วในเบื้องต้นว่าบริเวณโดยรอบเกาะระ-เกาะพระทองเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่ผ่านการวิวัฒนาการทั้งในด้านสังคม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมมายาวนานพอสมควร ดังนั้นบริเวณพื้นที่เกาะระ-เกาะพระทองซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันน่าจะได้รับอิทธิพลในด้านต่างๆ เช่น ด้านการตั้งถิ่นฐาน การเป็นแหล่งจอดเรือเพื่อหลบพายุและคลื่นลม หรือการประกอบอาชีพจากชุมชนโบราณใกล้เคียง  ไม่มาก ก็น้อย

          ในด้านประวัติศาสตร์ชุมชนนั้น มีตำนานเรื่องเล่าท้องถิ่นซึ่งถ่ายทอดสืบต่อกันมาว่าในสมัยก่อนกองทัพพม่าได้ยกกำลังพลเข้าตีเมืองต่างๆทางภาคใต้ เพื่อเข้าไปตีเมืองถลาง แต่ถูกคุณหญิงจันทร์จัดกำลังชาวเมืองเข้าต่อสู้อย่างเข้มแข็ง การรบครั้งหนึ่งกองทัพไทยได้ไล่ประชิดทหารพม่าจนถอยร่นมาถึงเกาะคอเขาและเกาะพระทอง ทหารพม่าเห็นว่ารบสู้ไม่ได้เลยทิ้งหอก ทิ้งดาบหนีลงเรือกลับพม่าไป จนกลายเป็นที่มาของ "บ้านทุ่งดาบ" ซึ่งเพี้ยนมาจาก "ทุ่มดาบ" นั่นเอง"

          เป็นที่น่าสังเกตว่าตำนานท้องถิ่นดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ทั้งนี้จากการค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ พบว่า ในปีมะเส็ง พ.ศ.2328 พระเจ้าปดุง ได้จัดเตรียมกองทัพเข้ามาตีไทย เกณฑ์คนทั้งเมืองหลวง หัวเมืองขึ้น ตลอดจนประเทศราชรวมจำนวนพล 144,000 คน จัดเป็นกระบวนเป็นเก้าทัพ กองทัพที่ 1 ให้เกงหวุ่นแมงยืมหาสีหะสุมะเป็นแม่ทัพ       มีกำลังทัพบก ทัพเรือ จำนวน 10,000 คน เรือกำปั่น 15 ลำ ชุมพลที่เมืองมะริด เข้าดีทางภาคใต้ของไทยตั้งแต่ชุมชนไปถึงสงขลา ส่วนทัพเรือนั้นเข้าตีหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งแต่เมืองตะกั่วปาจนถึงเมืองถลาง

          ขณะนั้นเจ้าเมืองถลางกำลังป่วย คุณหญิงจันทร์ผู้เป็นกรรยากับน้องสาวชื่อมุกจัดกำลังชาวเมืองเข้าต่อสู้กับพม่าเป็นสามารถ ด้วยความเข้มแข็ง ความกล้าหาญของชาวเมือง ทำให้พม่าไม่สามารถตีค่ายถลางได้แม่ทัพหมดกำลังใจและกองทัพเริ่มอดอยากจึงถอนทัพ กองทัพคุณหญิงจันทร์  ได้โอกาสจึงไล่ตีไปจนพม่าหนีลงเรือออกทะเลไปสิ้น เมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ.2828   ชื่อของ "เกาะพระทอง" ปรากฏครั้งแรกในหนังสือจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมาลายู ในระหว่างวันที่ 16-22 เมยายน พ.ศ.2433 โดยการเดินทาง

เริ่มต้นจากการเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งสุริยมณฑล จากกรุงเทพมหานครเข้าปากน้ำเมือง ประทับแรมที่บ้านท่าตะเภาแล้วเสด็จพระราชดำเนินทางบกไปตามสายโทรเลขข้ามคอคอดกระแม่น้ำปากจั่น โดยมีพระราชประสงค์จะสำรวจแนวทางที่อังกฤษ ฝรั่งเศสขอขุดคลองลัดหรือสร้างทางรถไฟข้ามคอคอดกระด้วยพระองค์เอง

            สำหรับเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินทางเรือ เริ่มจากเมืองกระบุรี เรียบฝั่งทะเลตะวันตกไปเมืองระนอง ตะกั่วป่า ภูเก็ต ตะกั่วทุ่ง พังงา กระบี่ ตรัง ปะเหลียน ลังกาวี สตูล ปะริด ปีนัง ไทรบุรี แล้ว อ้อมมา สิงคโปร์ ตรังกานู สงขลา ชุมพร กลับมากรุงเทพมหานคร

          การเสด็จประพาสในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จผ่าน เกาะพระทองดังปรากฎหลักฐานในหนังสือจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมาลายู ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2467 ตอนหนึ่งว่า "...เรือพระที่นั่งออกจากที่ทอดแต่เวลาคืนนี้ตี 11 เดินทางช่องว่างเกาะเสี่ยงไหกับเกาะช้างไม่มีคลื่นลมอันใด ทะเลเรียบเป็นปกติดีตัดเรียบฝั่งสิ้น แขวงเมืองระนองเข้าแขวงตะกั่วป่า เวลาเช้า 4 โมง 45 นาที่ถึงปากอ่าวเมืองตะกั่วป่า มีเกาะพระทองบังปากน้ำ เรือพระที่นั่งเข้าทางช่องข้างเหนือเรียกว่าปากกูรา..." อย่างไรก็ตามไม่ได้ระบุว่าเกาะพระทองมีการตั้งชุมชนอยู่หรือไม่

          แต่เบื้องต้นจากการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเกาะระ-เกาะพระทอง สันนิษฐานได้ว่ากลุ่มชนที่มีการตั้งถิ่นฐานทั้งที่เป็นแบบถาวรและแบบชั่วคราวในยุคแรก ๆ นั้น น่าจะเป็นชาวเลหรือยิปซีทะเลซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เดินทางย้ายถิ่นฐานไปตามหมู่เกาะต่าง 1 ตามฤดูกาลในเขตทะเลอันดามัน ทว่าชาวเลบางส่วนได้เริ่มตั้งถิ่นฐานและยังชีพด้วยการปลูกข้าว" หาของป่าและจับสัตว์น้ำในท้องทะเลเช่น ทำมุดักปลา ดำปลิง ดำหอย ทำปลาเค็ม ปลาแห้ง เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินหรือแลกเปลี่ยนกับปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตามการปลูกข้าว การหาของป่า และการจับสัตว์น้ำ ในสมัยนั้นเป็นไปเพื่อการยังชีพเป็นหลักมากกว่าเพื่อผลประโยชน์ในแง่เศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการประมงซึ่งพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่ได้ทำอาชีพประมงเป็นอาชีพหลักแต่มีลักษณะ "จับเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน" มากกว่าจับเพื่อการค้าขาย และเครื่องมือประมงก็มีลักษณะไม่ซับซ้อนมีเพียง "มุ" "ฉมวก" และ "เบ็ด" จับปลาเท่านั้น

          ต่อมาภายหลังชาวจีนได้เริ่มอพยพเข้ามาในพื้นที่เกาะพระทองเพิ่มมากขึ้น (ช่วง พ.ศ.2340-พ.ศ.2396) ทั้งนี้ด้วยปัจจัยชักนำที่สำคัญคือ การขยายตัวของการทำเหมืองแร่ในภาคใต้ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ชาวจีนอพยพสูงมาก นอกจากนั้นยังมีเหตุผลจากการขยายตัวของพาณิชย์นาวีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเพิ่มบทบาทของปีนังและสิงคโปร์ในฐานะเมืองท่าสำคัญ รวมทั้งสถานการณ์ความไม่สงบของการเมืองในประเทศจีน

          เป็นที่น่าสังเกตว่าการอพยพของคนต่างถิ่นเหล่านี้ไม่ได้มุ่งหน้ามาที่เกาะพระทองโดยดรงหากแต่โยกย้ายมาจากตะกั่วป่า เกาะคอเขา ระนอง นครศรีธรรมราช ฯลฯ อีกทอดหนึ่งและเมื่อมาพบสภาพพื้นที่และทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของเกาะพระทอง" เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้มีช่องทางทำมาหากินจึงเริ่มตั้งถิ่นฐานและชักชวนญาติพี่น้องคนรู้จักเข้ามาทำมาหากินด้วยกัน ดังเช่นกรณีของเหมืองแร่นบเกาะชาดซึ่งเป็นเหมืองแเรในยุคแรก ๆ ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐมีเช้าของสัมปทานคือ นายดวน สัมฤทธิ์ เป็นเศรษฐีเชื้อสายจีนจากเมืองตะกั่วปา ซึ่งเดินทางมาพบแหล่งแร่ดีบุกบนกาะพระทอง หลังจากนั้น จึงเริ่มอพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกโดยมีลูกจ้างทั้งที่เป็นขาวจีน คนไทยและหาวเล นอกจากนั้น บริเวณนบเกาะชาดยังมีการปลูกพืชผัก เช่น ข้าว น้ำเค้า (ฟักทอง) ผักกาด เผือก มีการขุดร่องน้ำเพื่อผันน้ำมาใช้ในการเกษตร พืชผักเหล่านี้ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อกินในครอบครัวที่เหลือที่นำไปขายยังตลาดย่านยาว นอกจากนั้นยังมีเหมืองแร่ของนายจุติ บุญสง ซึ่งอยู่บริเวณที่เรียกว่า   "ทุ่งอุ่นเนื้อ" และเหมืองแร่ที่เกาะระ เหมืองแร่ดีบุกทั้งสามแห่งนี้ใช่วิธีการทำแร่เแบบ "ใช้รางดิน"

          นอกจากการทำแร่รางที่ใช้ดินเหนียวนำมาทำเป็นรางแยกดิน ทราย ออกจากแร่ดีบุกแล้ว ยังพบว่ามีการทำแร่บริเวณชายหาดและบริเวณป่าโกงกาง เคยใช้เครื่องมือง่ายๆ และไม่ขับช้อน มีทั้งที่ใช้รางไม้และรางดิน รวมทั้งยังใช้การ "ร่อนแร่" โดยใช้อุปกรณ์ที่ทำจากไม้มีลักษณะคถ้าย กะทะท้องตื้นที่เรียกว่า "เหลียง" แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่ทำแร่พายหาดและแร่ปาโกงกาง ส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านซึ่งไม่ได้มีการขอสัมปทานแต่อย่างใด แร่ดีบุกที่แยกออกจากกรวด หิน ดินทราย จะเรียกว่า "เยื่อแร่"เยื่อแร่เหล่านั้นชาวบ้านจะขายให้แก่เจ้าของเหมืองที่ได้รับโควต้าสัมปทานหรือพ่อท้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อถึงที่เพื่อไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง

          การทำเหมืองแร่ในยุคแรก ๆ บนเกาะพระทองนั้น มีเอกสารบันทึกไว้ในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใตัของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเข้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ.2452 (ร.ศ.128) ตอนหนึ่งว่า "...ครั้นท่านพระยาดำรงและข้าราชการผู้ใหญ่ที่ได้มาส่งเสด็จจนถึงเรือถลาง ได้กราบถวายบังคมลาลงเรือเล็กไปแล้วเรือถลางถอนสมอออกเดินจากปากน้ำระนอง มาตามทางทะเลมาเข้าแม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำนี้ก็มีที่งามๆ น่าดูตลอดมา มีเขาทั้งสองข้าง และมีกาะอยู่เป็นอันมาก มีบางเกาะที่มีเหมืองแร่ดีบุก เช่น เกาะพระทอง เป็นตัน...." เอกสารฉบับนี้จึงเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญยืนยันว่า เกาะพระทองนั้นมีราษฎรเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำเหมืองแร่ดีบุกแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2452 เป็นอย่างน้อย

          ต่อมาก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเล็กน้อยได้เกิดโรคไข้ทรพิษระบาดอย่างรุนแรงบน เกาะพระทอง ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มตายไปเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนนบเกาะชาดและชุมชนบ้านห้างสูง ชาวบ้านเล่าว่าคนที่ป่วยจะถูกนำไปรวมกันไว้ที่เกาะแห่งหนึ่งใกล้เกาะคอเขาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาค การระบาดของไข้ทรพิษครั้งดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนประชากรของชุมชนบนเกาะพระทองลดลงจำนวนมาก

 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

          แม้จะเกิดโรคไข้ทรพิษระบาดแต่การทำเหมืองแร่บริเวณชายหาดและป่าชายเลนดำเนินมาจนถึงช่วงสงครามโลกกรั้งที่ 2 (ราวปี พ.ศ.2483) ปรากฎการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้คือ ราคาแร่ดีบุกโลกเริ่มตกต่ำ จนทำให้รายได้ของชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ได้จากการทำแร่เป็นหลักกระทบกระเทือนอย่างหนักเนื่องจากการดำเนินกิจการเหมืองแร่ไม่คุ้มทุน ทั้งยังส่งผลกระทบต่อชาวบ้านผู้ทำแร่ดีบุก รายย่อยเพราะไม่มีพ่อค้ามารับซื้อแร่เช่นอดีต ดังนั้นประชาชนบางส่วนที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะพระทองจึงเริ่มอพยพไปอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่เพื่อหาช่องทางทำมาหากินรวมทั้งหลบหนีภัยสงคราม เนื่องจากใน

           ระยะหลังมีทหารญี่ปุ่นบางส่วนเข้ามาตั้งค่ายทหารบริเวณเกาะระ มีการส่งทหารออกหาข่าวเกี่ยวกับทหารฝรั่งซึ่งเป็นศัตรูในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทั่งนำทหารขึ้นมาฝึกบริเวณนบเกาะชาดบน เกาะพระทอง สร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวบ้านที่ยังอาศัยอยู่บนเกาะอย่างมาก ผลกระทบจากสงครามและรากาแร่ดีบุกตกต่ำนำไปสู่ยุคข้าวยากหมากแพงสร้างความแร้นแค้นให้กับชุมชนเป็นอย่างมากชาวบ้านบางส่วนต้องไปขุดหัวมัน หัวกลอย มากินประทังชีวิต เนื่องจากข้าวสารราคาแพงมาก

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

          ต่อมาไม่นานเมื่อฝ่ายญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามและยกกำลังทหารกลับประเทศของตน สภาพสังคมชุมชนจึงเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ ชาวบ้านบางส่วนที่อพยพออกไปในช่วงสงครามเริ่มทยอยเดินทางกลับมายังเกาะพระทอง และเริ่มทำเหมืองแร่อีกกรั้งโดยยังคงทำแร่ชายหาดและแร่ป่าโกงกางเช่นเดิม ในช่วงนี้นอกจากการทำเหมืองแร่แล้วยังพบว่า ในส่วนของภาครัฐมีการให้สัมปทานแก่เอกชนเก็บไข่เต่าทะเล โดยเริ่มแรกนั้นสัญญาสัมปทานระหว่างรัฐกับเอกชนนั้นจะต้องทำปีต่อปี ต่อมาในช่วงปีพ.ศ.2492-2493 ขุนกาจน์ที่ปคราม ซึ่งเป็น"กำนันเกาะพระทอง" ขณะนั้นสามารถประมูลสัมปทานเก็บไข่เต่าได้ และในช่วงเวลาเดียวกันรัฐได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์การต่อสัมปทานจากเดิมที่เป็นปีต่อปีเป็น การต่อสัมปทาน 1 ครั้ง มีอายุ 3 ปี โดยต้องจ่ายเงินค่าสัมปทานให้แก่รัฐจำนวน 3,000 บาท/3ปี หลัง จากนั้นขุนกาจน์ที่ปครามได้นำสัมปทานที่ประมูลได้มาแบ่งขายต่ออีกทอดหนึ่งมีแนวเขตการสัมปทานคือชายหาดห้างสูง-คลองเข้ คลองเข้-บ้านหินกอง บ้านหินกอง-ปากคลองปากจก ปากคลองปากจก-อ่าวกุนิง อ่าวกุนิง-สุดเกาะระ และเกาะคอเขา

          ในขณะนั้นสัมปท่านไข่เต่าทำรายให้แก่ผู้รับสัมปทานได้มากโดยในแต่ละปีจะมีเต่าขึ้นมาวางไข่ไม่ต่ำกว่า 1,000 รัง เฉพาะชายหาดห้างสูงถึงปากคลองเข้มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่มากที่สุดถึงประมาณ 600 รัง โดยไข่เต่าที่เก็บได้จะขายได้ในรากา 10-15 สตางค์ (รังไข่เต่าทะเล 1 รังมีจำนวนไข่ประมาณ 100-300 ฟอง) ทั้งนี้ได้มีข้อกำหนดระหว่างภาครัฐกับเอกชนผู้ได้รับสัมปทานว่าจะต้องเพาะลูกเต่าทะเลปล่อยปีละ 3,750 ตัว หากมิทำตามหรือทำไม่ได้ตามกำหนดจะถูกปรับในราคาตัวละ 1 บาท   อย่างไรก็ดีราวปี พ.ศ.2499 -2500 เริ่มมีการทำประมงพาณิชย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เรืออวนลากจับปลาในเขตหน้าหาดฝั่งตะวันตกหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆขณะเดียวกันการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลก็ลดน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้สัมปทานเก็บไข่เต่าทะเล ผู้ได้รับสัมปทานได้ดำเนินการมาเป็นเวลาถึง 42 ปี (เลิกสัมปทานเก็บไข่เต่าทะเลราวปี พ.ศ.2534)ในช่วงเวลาเดียวกันนอกจากกาครัฐจะเปิดให้เอกชนทำสัมปทานเก็บไข่เต่าทะเลแล้ว ยังเปิดให้สัมปทานตัดฟันไม้ในป่าชายเลนบริเวณคลองห้างสูงและคลองบางปีหลังอีกด้วย โดยผู้ที่ได้รับสัมปทานคือ นายครรชิต ดันภานุวัตร ไม้ในป่าชายเลนที่ตัดได้จะนำไปเผาถ่านบริเวณปากคลองลัดนางจันทร์ ชาวบ้านเล่าว่าเวลาที่เรือเข้ามารับซื้อถ่านไม้โกงกางจากเตาถ่าน จะนำสินค้าต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม ข้าวสาร ร่ม ครก ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มาขายด้วย นอกจากนั้นยังมีเรือสินค้าโดยเฉพาะซึ่งจะไปจอดที่เมืองใหม่ บริเวณเกาะคอเขา

          ในด้านการทำเหมืองแร่นั้น ระยะต่อมาได้มีผู้นำเทคนิคการทำเหมืองแร่แบบ "เหมืองดูด" ซึ่งได้แบบอย่างจากเหมืองแร่ที่บ้านน้ำเค็มมาใช้ในการทำแร่ดีบุกกลางทุ่งหญ้า" ทำให้กิจการเหมืองแร่บนเกาะพระทองกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยแร่ดีบุกที่ได้จะขายในราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท ขณะเดียวกันการทำเหมืองแร่ชายหาดและการทำแร่ป้าโกงกางก็ยังคงดำรงอยู่ แต่ส่วนใหญ่ผู้ดำเนินการจะเป็นชาวบ้านทั่วไปทั้งคนจีนและชาวไทยใหม่มิใช่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่เช่นเหมืองที่ได้รับสัมปทาน โดยใน 1 น้ำ จะได้แร่ดีบุกประมาณ 7-8 กิโลกรัม แร่ดีบุกที่ได้จะนำไปขายให้แก่เถ้าแก่หรือนายหัวคนจีนเพื่อนำไปขายยังตลาดใหญ่ที่ตลาดย่านยาว อำเภอตะกั่วปา จังหวัดพังงา ต่อมาเมื่อเยื่อแร่เริ่มลดน้อยลง ผู้ประกอบการรายย่อยได้ปรับเปลี่ยนตัวเองมาทำ "ขี้แร่"  แทนการทำแร่แบบเดิม ซึ่งขี้แร่นี้จะขายได้ในราคากิโลกรัมละประมาณ 70 สตางค์ - 1 บาท นอกจากนั้นยังมีชาวบ้านบางส่วนได้ไปรับจ้างนายหัว  ซึ่งมีเงินลงทุนสูงทำเหมืองดูดบริเวณกลางทุ่ง ทั้งยังมีเถ้าแก่หรือนายหัวบางรายออกเงินซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือในการดูดแร่ให้กับชาวบ้าน หลังจากได้แร่ดีบุกแล้วก็นำมาขายให้กับเถ้าแก่ผู้ออกทุนให้ ขณะเดียวกันเถ้าแก่ก็จะหักค่าอุปกรณ์ที่ซื้อให้พร้อมทั้งดอกเบี้ยไปเป็นงวดๆ

          อย่างไรก็ตามการทำเหมืองแร่ระยะหลัง (หลังปี พ.ศ.2515) เริ่มประสบปัญหาเนื่องจากปริมาณแร่เริ่มลดน้อยลงทำให้หาแร่ได้ยากขึ้น นอกจากนั้นการทำแร่กลางทุ่งก็ทำได้เพียงช่วงฤดูแล้งเท่านั้น เพราะในช่วงฤดูฝน น้ำจะท่วมทุ่งไม่สามารถทำเหมืองแร่ได้ ที่สำคัญราคาแร่ดีบุกตกต่ำทำให้การทำแร่ไม่คุ้มกับค่าลงทุน ดังนั้นชุมชนจึงได้ปรับตัวโดยหันไปประกอบอาชีพอื่นๆ อาทิ การรุนเคย การทำ"หนังเหี้ย" การตัดไม้ฟืนซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ไม้บ้อง" ส่งให้กับเรือขุด เรือดูดแร่ ที่เข้ามาประกอบกิจการเหมืองแร่บริเวณบ้านน้ำเค็ม การจับปู ทำสวนมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ เป็นตัน

          ประวัติศาสตร์สำคัญอีกครั้งหนึ่งก็คือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2518 เมื่อครั้งสมเด็จพระศรี-นครินทร์ทราบรมราชชนนี เสด็จฯ หมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน ในครั้งนั้นทรงโปรดให้ชาวไทยใหม่เข้าเฝ้าและพระราชทานนามสกุลให้แก่ชาวมอแกลนว่า "กล้าทะเล" ซึ่งสร้างความกาคภูมิใจให้แก่ชาวเลเป็นอย่างมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้มักถูกดูถูกจากคนไทยและคนจีนมาโดยตลอด ทั้งนี้ในสารนิพนธ์เรื่อง "ประวัติความเป็นมาและแนวทางการพัฒนาอาชีพชาวไทยใหม่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ของ นายผ่อง กำลังดัสนะ ตอนหนึ่งบรรยายไว้ว่า "มีครั้งหนึ่งทำให้ชาวไทยใหม่มีความเกษมปรีดา นับเป็นครั้งแรกของชีวิตที่พวกเขาได้มีโอกาสพบเห็นและรู้จักไหว้ เมื่อได้รับของพระราชทานจากพระหัตถ์ ซึ่งชาวไทยใหม่เกือบ 200 คน ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้ลอยเรือเทียบเรือพระที่นั่งรับพระราชทานเสื้อผ้า เมื่อคราเสด็จฯ หมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน"

          อนึ่งผลจากการศึกษาเปรียบเทียบแผนที่ทำให้สามารถยืนยันการตั้งชุมชนบนเกาะระและ   เกาะพระทองได้ โดยพบว่าในช่วงปี พ.ศ.2616 มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในตัวเกาะเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้คาคว่าชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนที่เข้ามาทำเหมืองแรดีบุกตั้งแต่ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณนบเกาะชาดเคยเป็นชุมชนขนาดใหญ่มีการตั้งบ้านเรือนมากกว่า 50 หลังคาเรือน มีการขุดร่องน้ำที่เรียกว่า"นบ" ขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และใช้ในกระบวนการแยกแร่ นอกจากนั้นยังมีการตั้งโรงเรียนนบเกาะชาด มีนักเรียนจำนวนราว 15-30 คน